ประวัติโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
เนื่อง
จากอำเภอหัวไทรมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาตอนปลายในแต่ละปีจำนวนมาก แต่ไม่มีสถานศึกษาที่จะศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาที่อยู่ในท้องถิ่น
มีนักเรียนส่วนน้อยที่จะไปศึกษาในต่างถิ่น นายน้อย มาศมัณฑนะ นายอำเภอหัวไทรและนายวิชัย
จันทพันธ์ ศึกษาธิการในขณะนั้น ได้วางโครงการจัดตั้งโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญขึ้นลงวันที่
9 มกราคม 2512 นายอำเภอหัวไทรจึงได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมประชาราษฎร์ซึ่งมีนายจันทร์ หนูดุก
เป็นเหรัญญิกซึ่งเป็นผู้จัดหาที่ดินตั้งโรงเรียนทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและประชาชนชาวอำเภอหัวไทร
โดยได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน 70,395 บาท
ได้ที่ดินจำนวน 35 ไร่ 79 ตารางวา
และได้มอบให้กรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ 25514ซึ่งเป็นปีแรกที่โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ได้เปิดเรียน
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2514 กระทรวงได้อนุญาตให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นในอำเภอหัวไทร
ชื่อว่า “โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์”
ใน วันที่ 17
พฤษภาคม 2514 โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ได้เปิดสอนเป็นครั้งแรก
โดยอาศัยเรียนอยู่กับโรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา มี
นายฟอง วิริยะไพบูลย์ ครูโท โรงเรียนปากพนัง ช่วยราชการครูใหญ่เป็นครั้งแรก
ในปีแรกมีนักเรียน 90 คน ชาย 57 หญิง 33
คน มีครูอาจารย์ 5 คน
โดยที่ทางราชการบรรจุมาให้ 2 คน ย้ายมา 1 คน และครูมาช่วยราชการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อำเภอหัวไทร) อีก 2
คน รวมทั้งหมด 6 คน
ในปีการศึกษา 2515 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนหัวไทร
(ประถมศึกษาตอนปลาย)ไปอาศัยเรียนที่อาคารเก่าบ้านหัวไทร
(เรือนประชาบาล) ในปีการศึกษานี้ราชการได้ย้ายนายธีรวุฒิ ปทุมนพรัตน์
มาดำรงตำแหน่งแทน นายฟอง วิริยะไพบูลย์ ซึ่งได้ย้ายไปโรงเรียนตากใบ
จังหวัดนราธิวาส จนกระทั่งปี 2516 ซึ่งเป็นปีแรกที่โรงเรียนมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นครบทั้งสามชั้น
คือ ขั้น ม.ศ.1 ม.ศ.2 และ ม.ศ.3
ได้แบ่งสถานที่เรียนเป็น สองแห่ง คือ นักเรียนชั้น ม.ศ. 1 ยังคงอาศัยเรียนที่โรงเรียนบ้านหัวไทร (เรือนประชาบาล) ส่วนชั้น ม.ศ.2
และ ม.ศ.3 ไปเรียนที่อาคารเรียนของโรงเรียนเองซึ่งสร้างในที่ประชาชนมอบให้
ณ บ้านทะเลปัง ในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้ย้าย นายสมควร ณ ตะกั่วทุ่ง มาดำรงตำแหน่งแทน
นายธีรวุฒิ ปทุมนพรัตน์ ซึ่งมิได้เดินทางมารับตำแหน่ง โรงเรียน ของเราเจริญเติบโตขึ้นมาตามลำดับ
จนกระทั่งปี 2519 ได้ย้ายสถานที่เรียนมาเรียนที่โรงเรียนทั้งหมดทุกระดับชั้น
และในปีการศึกษานี้เองกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์เข้าอยู่ในโครงการ
คมช. รุ่นที่ 13 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2519 เป็นต้นมาโรงเรียนของเราได้เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในปีการศึกษา
2521 โรงเรียนได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ทำให้มีนักเรียนถึง 1,424 คน นับเป็นปีแรกที่มีนักเรียนเกิน
1,000 คน ในปีการศึกษา 2523 ทางราชการได้ย้ายนายฟอง
วิริยะไพบูลย์ จากโรงเรียนตากใบ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทนนายสมควร ณ
ตะกั่วทุ่ง ซึ่งย้ายไปโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยาคม
ในปีการศึกษา
2525 โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ มีนักเรียนถึง 1,671 คน มีครูอาจารย์ 97 คน มีห้องเรียน 41 ห้องเรียน มีนักการภารโรง 11 มียาม 1 คน อาคารถาวร 3 หลัง อาคารชั่วคราว 3 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลัง หอประชุม 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 3 หลัง บ้านพักครู 10
หลัง และแฟลตครู 2 หลัง จำนวน 16 หน่วย ในปีการศึกษานี้เองอาจารย์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ในปีการศึกษา
2526 นายฟอง วิริยะไพบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กิตติมธานินทร์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์แทนนายฟองวิริยะไพบูลย์
ในปีการศึกษา
2531 นายธานินทร์
กิตติมธานินทร์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายระวัย แก้วเขียวได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2533 นายระวัย แก้วเขียว ถึงกรรม นายมนูญ
ชูเกลี้ยง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ได้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งแต่
วันที่ 2ถ กุมภาพันธ์ จนถึง วันที่ 23 กรกฎาคม
2533 จากนั้นกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายศรีมงคล ศรีมีชัย
ผู้อำนวยการช้างกลางประชานุกูล อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2533 จนถึงปีการศึกษา
2536 นายศรีมงคล ศรีมีชัย ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเชียรใหญ่
อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และนายถวิล รัตนโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2536 จนถึง ปีการศึกษา 2543 สิบตรีนิคม มังคะมณี ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ตั้งแต่วันที่
9 พฤศจิกายน 2543 จนถึง วันที่ 4
ตุลาคม 2547 จึงเกษียณอายุราชการ
นายเสริมศักดิ์ อุณพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ตั้งแต่วันที่
4 ตุลาคม 2547 จนถึง วันที่ 30
กันยายน 2551 จึงเกษียนอายุราชการ นายนิติพันธ์
ดำมี
ผู้อำนวยการโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง
ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
อักษรย่อ
ท.ร.
ตั้งอยู่เลขที่
330 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร
จังหวัดนครศรีธรรมราช
รหัสไปรษณีย์ 80170
โทรศัพท์ 0-7538-9486 โทรสาร 0-7538-8014
E-mail : huasaibum@hotmail.com
Website : www.hbr.ac.th
กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 12
1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
1.3 มีเขตพื้นที่บริการจำนวน 4
ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่
ตำบลหัวไทร หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, 8,
9, 10, 12 (10 หมู่บ้าน)
ตำบลหน้าสตน
หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 (9 หมู่บ้าน)
ตำบลรามแก้ว หมู่ที่ 1, 2, 3,
4, 5 (5 หมู่บ้าน)
ตำบลเขาพังไกร หมู่ที่ 8 (1
หมู่บ้าน)
โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ
- โรงเรียนหัวไทรเรือนประชาบาล
- โรงเรียนวัดทะเลปัง
- โรงเรียนบ้านหนองบอน
- โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
- โรงเรียนบ้านหน้าศาล
- โรงเรียนวัดปากระวะ
- โรงเรียนวัดฉิมหลา
- โรงเรียนบ้านลำคลอง
- โรงเรียนวัดหัวลำภู
- โรงเรียนบ้านศาลาแก้ว
- โรงเรียนวัดอิมอญ
- โรงเรียนวัดหน้าสตน
- โรงเรียนวัดรามแก้ว
- โรงเรียนชุมชนวัดเกาะเพชร
แบบตราสัญลักษณ์ มีรายละเอียดประกอบด้วย
คบเพลิงกำลังส่องแสงสว่างอยู่บนกงจักร ซึ่งมีมือชูคบเพลิงรวมกันเป็นดุมล้อ
|
ปรัชญาของโรงเรียน นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา “แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี”
สีประจำโรงเรียน เขียว – เหลือง
สีเขียว
หมายถึง ต้นข้าวที่เริ่มงอกงาม
เป็นวัยเจริญเติบโต
สีเหลือง หมายถึง
สีของต้นข้าวที่เจริญงอกงาม เริ่มออกรวงเหลืองอร่าม
เพลงมาร์ชหัวไทรบำรุงราษฎร์
คำร้อง : นายสาทร
ดิษฐ์สุวรรณ
ทำนอง : นายจำลอง เพ่งบุญ
หัวไทร บำรุงราษฎร์
เลื่องลือชา สามารถ อาจอง
วิชาการ ด้านกีฬา มั่นคง ชูธง เขียวเหลือง เรืองรอง
คุณธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก ชนประจักษ์ ไม่เคย มัวมอง
ร่วมใจรัก สามัคคี ปรองดอง เราพี่น้อง สืบสาน นานมา
สถาบันแห่งนี้ มีชื่อ ราษฎร์ร่ำลือ ไปจบ ภพหล้า
ช่วยผดุง ปลูกฝัง ศรัทธา ให้แก่กล้า มากมี ทวีคูน
แม้คืนวัน ผันเปลี่ยนแปรไป ชื่อหัวไทร ไม่เคย สาบสูญ
จะยังคงพิลาศล้ำ จำรูญ เกริกเกรียงไกร ไพบูลย์ตลอดกาล